วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 17 พ.ค. 2555

ความรู้ในคาบเรียน




ได้สอบปลายภาค  




  

จบคาบเรียนนี้แล้วค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่สอนได้สนุกและได้ความรู้มากมายเลยค่ะ แถมได้ศึกษานอกสถานที่ด้วยค่ะ 

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

QR Code Generator




ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 14 พ.ค. 2555

กฏหมายเกี่บวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • มาตรา 63รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนาและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จาเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทานุบารุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมตามความจาเป็น
  • มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตารา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอานาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59)


ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

(1)วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2)ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3)ติชมวิจารณ์หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5)ทาสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจานวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้องเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบารุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6)ทาซ้าดัดแปลงนาออกแสดงหรือทาให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอานาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7)นาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8)ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จาเป็นแก่การใช้
(9)จัดทาสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สาหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน





แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต

  สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
การเรียนการสอนในระบบ
หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ โดยครูจะนาเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทาให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น



  สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
หมายถึงการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตร
ที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กาหนดระยะเวลา
ที่แน่นอน



  สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน
ตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสาหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจากัด
บางอย่าง


ศัพท์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่

  1. Ubiquitous Learning คือ การเรียนรู้รอบทิศทางโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายในการศึกษาทั้ง Mobile Learning, Tablet, WiFi เป็นต้น
  2. Video streaming คือการให้บริการ สื่อมัลติมีเดียประเภท วิดีโอ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี streaming ซึ่งคล้ายกับ radiostreaming แต่แตกต่างตรงที่เปลี่ยนจากประเภท เสียง เป็นการเผยแพร่ประเภท วิดิโอ โดยถ้าจะให้มองเห็นภาพของ วีดิโอ สตรีมมิ่งชัดเจน ขึ้น ให้มองถึงการถ่ายทอดสด หรือรายการที่ออกอาการทางโทรทัศน์ ซึ่งวีดิโอ สตรีมมิ่ง จะมีลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
  3. Hybrid Learning/Blended Learning คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง e-Learning และ ชั้นเรียนในสัดส่วน online 30-79%
 4. HyFlexLearning คือ การเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่นที่ให้ผู้เรียนมีทางเลือกด้วยตนเอง ออกแบบการเรียนด้วยตนเองทั้ง การเรียนการสอน ออนไลน์, เผชิญหน้า, หรือค้นคว้าด้วยตนเองตามแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา








บทบาทและหน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา

   หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทาให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คาปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม


คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. ด้านบุคลิกภาพ (คุณลักษณะส่วนตัว)

• มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
• มีความคิดสร้างสรรค์
• มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
• เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
• รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
• รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา


2. ด้านความรู้ (คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)

• มีความรู้สามารถให้คาแนะนา, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้
• มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
• สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
• สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
• รู้จักวางแผนและวางระบบการทางาน
• รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ












วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 10 พ.ค. 2555

 ความรู้ในคาบเรียน


ได้สอบระหว่างภาคและได้ส่งแบบฝึกหัดท้ายบทกับส่งแบบฝึกหัดเขียนอักษรหัวตัดด้วยปากกาเมจิ 5.0 





วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 3 พฤษภาคม 2555




ความรู้ในคาบวันนี้



   ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อนำไปสอบระหว่างภาคในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดได้แก่


1. ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา 
2. ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา 
3.วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
4.ประเภทสื่อการเรียนรู้แบ่งตามประสบการณ์
5.หลักทฤษฎีทางศิลปะกับเทคโนโลยีการศึกษา 
6. การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร 
7. หลักทฤษฎีทางจิตวิทยากับเทคโนโลยีการศึกษา




      ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีการศึกษา


ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) คือ ข้อความรู้ ที่บรรยาย พรรณนา ทำนาย ปรากฏการต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก้ผู้เรียนได้


กลุ่มพฤติกรรมนิยาม(Behaviorism)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฏีของพาพลอฟ


 คือ “เมื่อนาสิ่งเร้าที่เป็นกลางหรือสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข(CS) เสนอควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ซ้า ๆ หลายครั้ง ในที่สุดสิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้น จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองได้ด้วยตัวมันเอง”
ทฤษฏีของพาพลอฟ


   ทฤษฎีของวัตสัน (Watson) คือ จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1878 –1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นาเอาทฤษฎีของ พาพลอฟมาเป็นหลักสาคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์


    BurrhusSkinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทา (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจากัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาพลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คาว่า พฤติกรรม ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent) พฤติกรรม (Behavior) ผลที่ได้รับ (Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C



ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

   กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt)เป็นภาษาเยอรมันซึ่งวงการจิตวิทยาได้แปลความหมายไว้เดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง(Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปล เกสตัลท์ว่า เป็นส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)



   หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ 1.การรับรู้(Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส
ทั้ง 5 ส่วนคือหู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) 1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) 1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Continuity) 1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)






     แรงจูงใจ (motive) เป็นคาที่ได้ความหมายมาจากคาภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คาว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
แรงจูงใจ หมายถึง"บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทาให้บุคคลต้องกระทา หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" (Walters.1978 :218) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทา นั่นเอง
แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทาให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป้าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม" (Loundon and Bitta.1988:368)



ลักษณะของแรงจูงใจ

*แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ
*แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คาชม การได้รับการยอมรับยกย่อง


ทฤษฎีแรงจูงใจ

     ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎี นี้ ให้ความสาคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสาคัญของสิ่งเร้าภายนอก (Extrinsic Motivation)



     ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สาคัญในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล



    ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation) ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทาพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสาคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทาได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สาคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation)




     ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลาดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน




      องค์ประกอบของแรงจูงใจ
  นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาและสรุปว่า องค์ประกอบของแรงจูงใจ มี 3 ด้านคือ
องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Biological Factor) ในองค์ประกอบด้านนี้จะพิจารณาถึงความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ เช่น ความต้องการปัจจัย 4 เพื่อจะดารงชีวิตอยู่ได้
องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ (Learned Factor) องค์ประกอบด้านนี้เป็นผลสืบเนื่องต่อจากองค์ประกอบข้อ 1 ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถได้รับการตอบสนองความต้องการในปริมาณ ชนิด และคุณภาพตามที่ตนเองต้องการ และในหลาย ๆ ครั้ง สิ่งแวดล้อมเป็นตัววางเงื่อนไขในการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์



    องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)

54ประเภทของแรงจูงใจ
กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด
กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น
กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิว, กระหาย แรงจูงใจทุติยภูมิ 



   การพัฒนาแรงจูงใจในการเรียน

1. ต้องรู้จักพึ่งตนเอง
2. เป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีเหตุผล
3. ใช้ความสามารถของตนเองในการทางานให้เต็มที่เสมอ
4. ต้องกล้าเผชิญกับปัญหา หรืออุปสรรคต่าง ๆ
5. พยายามแข่งขันกับตนเอง
6. ต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
7. จงพยายามและทุ่มเทพลังงานลงไป








วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้เรียนในคาบวันที่ 26 เมษายน 2555

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร

  ป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อ ช่องทาง ระบบเพื่อการติดต่อ รับส่งข้อมูล ซึ่งกันและกัน

ลักษณะของการสื่อสาร

1. วิธีการสื่อสาร

     1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)

     1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)

     1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)


2. รูปแบบของการสื่อสาร

     2.1 การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)

    2.2การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)


3. ประเภทของการสื่อสาร

     3.1 การสื่อสารในตนเอง (Self- Communication)

    3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal Communication)

    3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)

    3.4 การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)

    3.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)



ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล



ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร

   ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
    การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น


โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม

2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ 



3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด


4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม



ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ
2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ 
3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป


2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ



3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม





วิธีการออกแบบตัวอักษร
   การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ 


วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาาสตร์ทางทะเลและหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาวัยบูรพา จ.ชลบุรี


ให้นิสิตเขียนบันทึกเรื่องราวพร้อมลงรูปของตน สาระที่ได้เรียนรู้วันนี้ลงใน Weblog

สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



      สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ ได้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆได้เห็นวิธีการให้อาหารในตู้ปลาขนาดใหญ่และได้ความเพลิดเพลินมาก ที่สำคัญยังได้เรื่องรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่เป็น2มิติ 3มิติและวัสดุอิเล้กทรอนิกส์ว่าในสถาบันทางทะเลมีอยู่เช่น       ตู้ไฟเป็นวัสดุ2มิติ สื่อทัศนสัญลักษณ์ วจนสัญลักษณ์ ในการใช้ตัวหนังสือแทนคำพูดเพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านหรือคนที่อยากรู้ได้มาหาเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม  ;)

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก



   สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คือ ได้ทราบถึงสื่อต่างๆ จากการที่ได้เดินเยี่ยมชมหอศิลปะจะมีสือที่เป็น3มิติมีการใช้เสียงประกอบการเล่าเรื่องถึงชีวะประวัติต่างๆตามตู้อันตรทัศน์ เป็นต้น หอศิลปะถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบตัวหนังสืออย่างไรเพื่อให้คนอ่านมองเห็นตัวหนังสือได้ชัดเจนและภาพพื้นหลังว่าครวใช้ภาพหรือสีตัวอักษรอย่างไรให้ตัวหนังสือเด่นกล่าวภาพ เป็นสถานที่ได้ความรู้กับการเรียนเป้นอย่างมากจ้า :)