วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 3 พฤษภาคม 2555




ความรู้ในคาบวันนี้



   ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อนำไปสอบระหว่างภาคในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดได้แก่


1. ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา 
2. ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา 
3.วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
4.ประเภทสื่อการเรียนรู้แบ่งตามประสบการณ์
5.หลักทฤษฎีทางศิลปะกับเทคโนโลยีการศึกษา 
6. การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร 
7. หลักทฤษฎีทางจิตวิทยากับเทคโนโลยีการศึกษา




      ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีการศึกษา


ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) คือ ข้อความรู้ ที่บรรยาย พรรณนา ทำนาย ปรากฏการต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก้ผู้เรียนได้


กลุ่มพฤติกรรมนิยาม(Behaviorism)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฏีของพาพลอฟ


 คือ “เมื่อนาสิ่งเร้าที่เป็นกลางหรือสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข(CS) เสนอควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ซ้า ๆ หลายครั้ง ในที่สุดสิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้น จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองได้ด้วยตัวมันเอง”
ทฤษฏีของพาพลอฟ


   ทฤษฎีของวัตสัน (Watson) คือ จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1878 –1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นาเอาทฤษฎีของ พาพลอฟมาเป็นหลักสาคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์


    BurrhusSkinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทา (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจากัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาพลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คาว่า พฤติกรรม ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent) พฤติกรรม (Behavior) ผลที่ได้รับ (Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C



ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

   กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt)เป็นภาษาเยอรมันซึ่งวงการจิตวิทยาได้แปลความหมายไว้เดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง(Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปล เกสตัลท์ว่า เป็นส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)



   หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ 1.การรับรู้(Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส
ทั้ง 5 ส่วนคือหู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) 1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) 1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Continuity) 1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)






     แรงจูงใจ (motive) เป็นคาที่ได้ความหมายมาจากคาภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คาว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
แรงจูงใจ หมายถึง"บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทาให้บุคคลต้องกระทา หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" (Walters.1978 :218) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทา นั่นเอง
แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทาให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป้าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม" (Loundon and Bitta.1988:368)



ลักษณะของแรงจูงใจ

*แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ
*แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คาชม การได้รับการยอมรับยกย่อง


ทฤษฎีแรงจูงใจ

     ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎี นี้ ให้ความสาคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสาคัญของสิ่งเร้าภายนอก (Extrinsic Motivation)



     ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สาคัญในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล



    ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation) ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทาพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสาคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทาได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สาคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation)




     ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลาดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน




      องค์ประกอบของแรงจูงใจ
  นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาและสรุปว่า องค์ประกอบของแรงจูงใจ มี 3 ด้านคือ
องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Biological Factor) ในองค์ประกอบด้านนี้จะพิจารณาถึงความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ เช่น ความต้องการปัจจัย 4 เพื่อจะดารงชีวิตอยู่ได้
องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ (Learned Factor) องค์ประกอบด้านนี้เป็นผลสืบเนื่องต่อจากองค์ประกอบข้อ 1 ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถได้รับการตอบสนองความต้องการในปริมาณ ชนิด และคุณภาพตามที่ตนเองต้องการ และในหลาย ๆ ครั้ง สิ่งแวดล้อมเป็นตัววางเงื่อนไขในการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์



    องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)

54ประเภทของแรงจูงใจ
กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด
กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น
กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิว, กระหาย แรงจูงใจทุติยภูมิ 



   การพัฒนาแรงจูงใจในการเรียน

1. ต้องรู้จักพึ่งตนเอง
2. เป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีเหตุผล
3. ใช้ความสามารถของตนเองในการทางานให้เต็มที่เสมอ
4. ต้องกล้าเผชิญกับปัญหา หรืออุปสรรคต่าง ๆ
5. พยายามแข่งขันกับตนเอง
6. ต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
7. จงพยายามและทุ่มเทพลังงานลงไป








1 ความคิดเห็น: