วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้เรียนในคาบวันที่ 26 เมษายน 2555

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร

  ป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อ ช่องทาง ระบบเพื่อการติดต่อ รับส่งข้อมูล ซึ่งกันและกัน

ลักษณะของการสื่อสาร

1. วิธีการสื่อสาร

     1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)

     1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)

     1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)


2. รูปแบบของการสื่อสาร

     2.1 การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)

    2.2การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)


3. ประเภทของการสื่อสาร

     3.1 การสื่อสารในตนเอง (Self- Communication)

    3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal Communication)

    3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)

    3.4 การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)

    3.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)



ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล



ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร

   ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
    การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น


โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม

2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ 



3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด


4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม



ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ
2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ 
3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป


2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ



3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม





วิธีการออกแบบตัวอักษร
   การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ 


วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาาสตร์ทางทะเลและหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาวัยบูรพา จ.ชลบุรี


ให้นิสิตเขียนบันทึกเรื่องราวพร้อมลงรูปของตน สาระที่ได้เรียนรู้วันนี้ลงใน Weblog

สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



      สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ ได้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆได้เห็นวิธีการให้อาหารในตู้ปลาขนาดใหญ่และได้ความเพลิดเพลินมาก ที่สำคัญยังได้เรื่องรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่เป็น2มิติ 3มิติและวัสดุอิเล้กทรอนิกส์ว่าในสถาบันทางทะเลมีอยู่เช่น       ตู้ไฟเป็นวัสดุ2มิติ สื่อทัศนสัญลักษณ์ วจนสัญลักษณ์ ในการใช้ตัวหนังสือแทนคำพูดเพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านหรือคนที่อยากรู้ได้มาหาเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม  ;)

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก



   สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คือ ได้ทราบถึงสื่อต่างๆ จากการที่ได้เดินเยี่ยมชมหอศิลปะจะมีสือที่เป็น3มิติมีการใช้เสียงประกอบการเล่าเรื่องถึงชีวะประวัติต่างๆตามตู้อันตรทัศน์ เป็นต้น หอศิลปะถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบตัวหนังสืออย่างไรเพื่อให้คนอ่านมองเห็นตัวหนังสือได้ชัดเจนและภาพพื้นหลังว่าครวใช้ภาพหรือสีตัวอักษรอย่างไรให้ตัวหนังสือเด่นกล่าวภาพ เป็นสถานที่ได้ความรู้กับการเรียนเป้นอย่างมากจ้า :)


วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

       แนวคิดแรก เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ "Phvsical Science Concept" เป็นการนำผลิตผลทางวิทยาสาสตร์และวิศวกรรมมาใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในรูป"วัสดุและอุปกรณ์" เป็นแนวคิดที่พัฒนา มาจาก"โสตรทัศนศึกษา"หรือ"Audiovisual Education" โดยจะเน้นหนักไปที่"สื่อสิ่งของ"
       แนวคิดที่สอง เป็นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ หรือ "Behaviorial Science Concept" เป็นการประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผสมผสานกับแนวคิดแรก(วิทยาศาสตร์กายภาพ)เน้น"วิธีการจัดระบบ"หรือ"Systems  Approach" แนวคิดนี้จะเป็นลักษณะการรวม"วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ"Instructional Design"หรือ"Instructional System Development" โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาทำหน้าที่เป็น วิศวกรทางการศึกษา (Educational Engineer)
         แนวคิดที่สาม เริ่มพัฒนาและให้ความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นลักษณะบทเรียนต่างๆเช่น CAI ,WBI, E-learning ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้อวการเรียนรู้รายบุคคล เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกทีี ทุกเวลา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
  
        การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆที่เป็นระบบเข้ากับงานการศึกษา เพื่อประสิทธิภาพของงาน 
        Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลตามแผนการ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา


1. นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษา
          - ปัญหาด้านผู้สอน
          - ปัญหาด้านผู้เรียน
          - ปัญหาด้านเนื้อหา
          - ปัญหาด้านเวลา
          - ปัญหาเรื่องระยะทาง
2. เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษา

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เพื่อขยายแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา



ออกแบบ(Design)
-การออกแบบระบบการสอน(Instructional Systems Technology)
-การออกแบบสาร(Message Design)
-กลยุทธ์การสอน(Instructional Strategies)
-ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน(Learner Characteristics)

การพัฒนา(Development)
-เทคโนโลยีการพิมพ์(Print Technologies)
-เทคโนโลยีโสตทัศน์(Audiovisual Technologies)
-เทคโนโลยีแบบบูรณาการ(Computer Technologies)

การใช้(Utilization)
-การใช้สื่อ(Media Utilization)
-การแพร่กระจายนวัตกรรม(Diffusion of Innovation)
-การใช้งานและความเป็นองค์กร(Implemetation and Institutionalization)
-นโยบายและกฏระเบียบ(Policies and Regulation)

การจัดการ(Management)
-การจัดการโครงการ(Project  Management)
-การจัดการทรัพยากร(Resources  Management)
-การจัดการระบบส่งผ่าน(Delivery  System  Management)
-การจัดการสารสนเทศ(Information  Management)

การประเมิน(Evaluation)
-การวิเคราะห์ปัญหา(Problem  Analysis)
-การวัดผลอิงเกณฑ์(Criterion-Referenced  measurement)
-การประเมินความก้าวหน้า(Formative  Evaluation)
-การประเมินขั้นสรุป(Summative  Evaluation)


ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา






ภาระงานเทคโนโลยีการศึกษา

-เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฏิบัติ
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ(เช่น วิเคราะห์ระบบการสอน  สังเคราะห์ระบบการสอน สร้างแบบจำลองระบบการสอน ทดสอบระบบการสอนและผู้ควบคุมการผลิตและการใช้สื่อประเภทต่างๆ )
-เทคโนโลยีการศึกษษที่เป็นเครื่องมือบริหาร ได้แก่
  1.การเป็นเครื่องมือด้านการจัดระบบการบริหาร
  2.การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ
  3.ในด้านการบริหารบุคคลากร
  4.ในด้านการบริหารวิชาการ
  5.ในด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  6.ในด้านการพัฒนาบุคลากร
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางิชาการ มี 2 รูปแบบ
  1.การยึดสือคนเป็นหลัก
  2.การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก มีอยู่ 3 แนวคือ 
     2.1 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน เสริมด้วยสื่อโสตทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนเสิมและสือโทรคมนาคม เป็นต้น
     2.2 การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อแกนกลางแล้วเสริมด้วยสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศน์และการสอนเสริม เป็นต้น
     2.3 การใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อฝึกอบรม รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ วัสดุบันทึกในรูปแบบต่างๆ แหล่งวิทยาบริการระบบเครื่อข่ายดิจิตอล

สื่อการสอน Instructional  Media
     หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน

ประเภทของสื่อการสอน 

-แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
-แบ่งตามแนงคิดเทคโนโลยีการศึกษา
-แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม(Edgar  Dale)


สื่อการสอน

  แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอนมี 3 ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non  projected  material)
2. สื่อที่ต้องฉาย (projected  material)
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio  material)
   
   แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
        1.วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
        2.อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามรถใช้ได้ด้สยตนเอง เช่น หุ่นจำลองและสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์  สไลด์   
        3.วิธีการ - กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน


สื่อการสอน แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale

1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct  or  Purposeful  Experiences)
2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived  experience)
3. ประสบการณ์นาฎการ (Dramatized  Experience)
4. การสาธิต (Demonstration)
5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
6. นิทรรศการ (Exhibits)
7. โทรทัศน์ (Television)
8. ภาพยนต์ (Motion  Picture)
9. ภาพนิ่ง  วิทยุและแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture)
10. ทัศน์สัญญลักษณ์ (Visual  Symbols)
11. วัจนสัญญลักษณ์ (Verbal  Symbol)


วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบการสอนของ The Kemp Model,Dick and Carey



ระบบการสอนของดิคค์ แอนด์และคาเรย์(Dick and Carey Mode)

      คิด แอนด์ แคเรย์ (Dick and Carey) ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยวิธีการระบบเช่นเดียวกันกับรูปแบบ ADDIE ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่าย แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ดี  รูปแบบการสอนของคิดแอนด์ แคเรย์ เริ่มเผ่ยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี คศ.1990 หลังจากนั้น เมือ่ปี คศ.1996 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยรายละเอียดมากชึ้น

      รูปแบบการสอนของดิคค์ แอนด์ แคเรย์ (1990) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้


1.การประเมินและการวิเคราะห์ (Assesment&Analysis) ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

           1.1   การประเมินความต้องการ (Need Assessment)
           1.2   การวิเคราะห์ส่วนหน้า (Front-endAnalysis)
2.การออกแบบ (Design)
3.การพัฒนา (Dvelopment)
4.การทดลองใช้ (lmplementation)
5.การประมเินผล (Evaluation)
   รูปแบบการสอนของคิดค์ แอนด์ แคเรย์(1990) พัฒนามาจากวิธีการระบบ โดยมีส่วนคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE แตกต่างกันเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น ซึ่งก็คือ การประเมินและการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อยๆได้แก่ การประเมินความต้องการและการวิเคราะห์ส่วนหน้า สำหรับการประเมินความต้องการ จะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายของการเรียนรู้และข้อจำกัดต่างๆรวมทั้งส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนการวิเคราะห์ส่วนหน้า จะเป็นการพิจารณาสถานกราณ์ การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์การวิเคราะห์สื่อและส่วนอื่นๆ สำหรับขั้นตอนที่ 2 ถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีรายละเอียดคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว


       รูปแบบการสอนของดิค แอนด์ แคเรย์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในปี คศ. 1996 โดยมีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งพบว่ารูปแบบการสอนในปี คศ.1996 ได้รับความนิยมมากกว่า ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การแยกแยะเป้าหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดที่ขั้นตอนของการพัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียดดังนี้


1. แยกแยะเป้าหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals) ขั้นตอนแรกเป็นการแยกแยะเป้าหมายของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการ เป้าหมายของการเรียนในส่วนนี้จะเกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ก่อน แล้วจึงกำหนดเป้าหมายของการเรียน โดยพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1.1 รายละเอียดของเป้าหมายของการเรียนที่มีอยู่
    1.2
ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการ
    1.3
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียน
    1.4
ผลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนคนอื่นๆที่เรียนจบแล้ว

2.
วิเคราะห์การเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากได้เป้าหมายของการเรียนแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อตัดสินว่า ความรู้และทักษะใดที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    2.1
กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนหลังจากที่เรียนจบแล้ว
   2.2
กำหนดขั้นตอนการนำเสนอบทเรียน

3.
กำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่จะเข้าเรียน (Identify Entry Behaviors) เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าพฤติกรรมใดที่จำเป็นของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    3.1
การกำหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน
    3.2
คุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน ในการดำเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
4.
เขียนวัตถุประสงค์ของการกระทำ(Write Performance Objectives) ในที่นี้ก็คือการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือสังเกตได้ของบทเรียนแต่ละหน่วย ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแล้ว โดยนำ ผลลัพธ์ที่ได้จาก 3ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    4.1
งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผู้เรียนแสดงออกในรูปของการกระทำหลังจบบทเรียนแล้ว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้
    4.2
เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
    4.3
เกณฑ์ (Criterion) ของงานหรือภารกิจของผู้เรียนที่กระทำได้

5.
พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests) เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องทำได้หลังจากจบบทเรียนแล้ว ในที่นี้ก็คือเกณฑ์ที่ใช้วัดผลจากแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบต่างๆ ที่ใช้ในบทเรียน

6.
พัฒนากลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) เป็นการออกแบบและพัฒนารายละเอียดต่าง ๆ ของบทเรียน ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนำเสนอบทเรียนด้วย เช่น ระบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative System) ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered System) หรือ ระบบผู้สอนเป็นผู้นำ (Instructor-led System) เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยู่ในรูปของบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    6.1
การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
    6.2
กิจกรรมการเรียนการสอน
    6.3
แบบฝึกหัดและการตรวจปรับ
    6.4
การทดสอบ
   6.5
การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน

7.
พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)เป็นขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดำเนินเรื่องในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนทั้งสื่อที่มีอยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ มีดังนี้
    7.1
คู่มือการใช้บทเรียนของผู้เรียนและผู้สอน
    7.2
บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
       7.2.1
ระบบสนับสนุนการกระทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EPSS (Electronic Performance Support Systems)
       7.2.2
บทเรียนสำหรับผู้สอน ในกรณีที่เป็นระบบผู้สอนเป็นผู้นำ
       7.2.3
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานโดยลำพัง เช่น CAI, CBT
       7.2.4
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานบนเครือข่าย เช่น WBI, WBT
       7.2.5 e-Learning

8.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Develop & Conduct FormativeEvaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงบทเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
    8.1
การประเมินผลแบบตัวต่อตัว (One-to-One Evaluation)
    8.2
การประเมินผลแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Evaluation)
    8.3
การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)

9.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation)เป็นการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่ง จำแนกออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    9.1
การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
    9.1
การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation)

10.
ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เป็นการปรับปรุงและแก้ไขบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธ์ การทดสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่วนประกอบต่าง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้




ระบบการสอนของ เจอโรลด์เคมป์ (Jerrold Kemp Model) 


     เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp)  ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้
     1.
ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน
     2.
ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
     3.
ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน
     4.
ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

1.
ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรกของการเริ่มต้นในกระบวนการออกแบบระบบการสอนหรือบทเรียน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและเป็นพื้นฐานของขั้นตอนย่อย ๆ ทั้ง 9 ขั้นตอน 

2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้ระบบการสอนหรือบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติจำนวน 3 ด้าน ดังนี้
     2.1
คุณสมบัติทั่วๆ ไป (General Characteristics) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา
     2.2
ความสามารถเฉพาะทาง (Specify Entry Competencies)
     2.3
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) เช่น การใช้สื่อ และกิจกรรม เป็นต้น

3.
เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose) เป็นการพิจารณาเป้าหมายของงานที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจบบทเรียนแล้ว เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป

4.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานหรือ ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้ หรือ สังเกตได้ การวิเคราะห์งานในขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างๆ ดังนี้
     4.1
เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ
     4.2
ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
     4.3
แนวทางการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน

5.
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน โดยพิจารณาจากผลของการวิเคราะห์งานที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนและการประเมินผลบทเรียน วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย

6.
กิจกรรมการสอน (Teaching Activities) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนสอนในกระบวนการเรียนการสอน โดยพิจารณาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนและความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและสื่อการสอน ก็จะต้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนด้วยเช่นกัน

7.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ

8.
สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ เช่น สถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากและตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

9.
การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการสร้างเครื่องมือวัดผลและดำเนินการวัดผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนต่อไป

10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และพื้นฐานความรู้เพื่อแนะนำให้มีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ก่อนศึกษาบทเรียนหรืหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนต่อไป





         รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้
1.
ระดับในสุด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
2.
ระดับที่สอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) และขั้นตอนการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)
3.
ระดับนอกสุด ประกอบด้วย สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) การบริหารโครงการ (Project Management) และการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)




     สำหรับขั้นตอนย่อยๆ มีดังนี้

1. ปัญหาการเรียนการสอน (Instructional Problems) เป็นการกำหนดปัญหาการเรียนการสอน เพื่อนำไปพิจารณาออกแบบและพัฒนาบทเรียน
2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้บทเรียนหรือ ระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
3.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้หลังจบบทเรียน
4.
วัตถุประสงค์การเรียนการสอน (Instructional Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน
5.
การเรียงลำดับเนื้อหา (Content Sequencing) เป็นการกำหนดความสำคัญของเนื้อหาโดยเรียงลำดับตามหลักประสบการณ์การเรียนรู้
6.
กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategies) เป็นการกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน เพื่อนำเสนอบทเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.
การนำส่งการเรียนการสอน (Instructional Delivery) เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการนำส่งบทเรียนไปยังผู้เรียน ได้แก่นำเสนอเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มเล็ก และนำเสนอเป็นรายบุคคล
8.
เครื่องมือวัดผลการเรียนการสอน (Instructional Instruments) เป็นการออกแบบเครื่องมือวัดผล เพื่อใช้สำหรับประเมินผลผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้
9.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

การนำความรู้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสู่การประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องมือ แนวคิดเทคนิควิธีการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


หัวใจของเทคโนโลยีการศึกษาคือ ทำให้เกิดการเรียนรู้


การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะและเจตคติ ที่เป็นเกณฑ์ในการสอนหรือในนิยามที่ว่า "การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในด้านความรุ้ของบุคคลหรือพฤติกรรม รวมถึงประสบการณ์ต่าง"

ความหมายเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป้าหมาย ดังนี้
  • ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสมารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วนให้การงานนั้นได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
  • ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผลทำให้ราคาของผลิตนั้นราคาถูกลง
  • ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น


ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

ชัยยงค์ (2523) ให้คำนิยามไว้ว่า
  • วัสดุ (Materials) หมายถึง ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผัง สิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ฯลฯ 
  • อุปกรณ์ (Equipment) หมายถึง ผลิตผลทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือต่างๆ เช่น กระดาษดำ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ 
  • วิธีการ (Techniques) หมายถึง ระบบกระบวนการ กิจกรรมต่างๆที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา






แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology: AECT, 1994)

    ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย5 ขอบข่ายใหญ่และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้


1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ      การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน                  
 1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน                   
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
            1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

1.2 การพัฒนา (development) ป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย                  
 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ                  
 1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน                   
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย                   
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ 

1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนประกอบด้วย                   
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน                  
 1.3.2การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม                   
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ                  
 1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)
เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย                   
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน                  
 1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ                   
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
 1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

1.5 การประเมิน (evaluation)  กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอนประกอบด้วย
                 
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                   
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา                   
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป                   
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป