วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 17 พ.ค. 2555

ความรู้ในคาบเรียน




ได้สอบปลายภาค  




  

จบคาบเรียนนี้แล้วค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่สอนได้สนุกและได้ความรู้มากมายเลยค่ะ แถมได้ศึกษานอกสถานที่ด้วยค่ะ 

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

QR Code Generator




ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 14 พ.ค. 2555

กฏหมายเกี่บวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • มาตรา 63รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนาและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จาเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทานุบารุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมตามความจาเป็น
  • มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตารา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอานาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59)


ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

(1)วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2)ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3)ติชมวิจารณ์หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5)ทาสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจานวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้องเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบารุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6)ทาซ้าดัดแปลงนาออกแสดงหรือทาให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอานาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7)นาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8)ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จาเป็นแก่การใช้
(9)จัดทาสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สาหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน





แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต

  สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
การเรียนการสอนในระบบ
หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ โดยครูจะนาเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทาให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น



  สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
หมายถึงการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตร
ที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กาหนดระยะเวลา
ที่แน่นอน



  สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน
ตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสาหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจากัด
บางอย่าง


ศัพท์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่

  1. Ubiquitous Learning คือ การเรียนรู้รอบทิศทางโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายในการศึกษาทั้ง Mobile Learning, Tablet, WiFi เป็นต้น
  2. Video streaming คือการให้บริการ สื่อมัลติมีเดียประเภท วิดีโอ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี streaming ซึ่งคล้ายกับ radiostreaming แต่แตกต่างตรงที่เปลี่ยนจากประเภท เสียง เป็นการเผยแพร่ประเภท วิดิโอ โดยถ้าจะให้มองเห็นภาพของ วีดิโอ สตรีมมิ่งชัดเจน ขึ้น ให้มองถึงการถ่ายทอดสด หรือรายการที่ออกอาการทางโทรทัศน์ ซึ่งวีดิโอ สตรีมมิ่ง จะมีลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
  3. Hybrid Learning/Blended Learning คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง e-Learning และ ชั้นเรียนในสัดส่วน online 30-79%
 4. HyFlexLearning คือ การเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่นที่ให้ผู้เรียนมีทางเลือกด้วยตนเอง ออกแบบการเรียนด้วยตนเองทั้ง การเรียนการสอน ออนไลน์, เผชิญหน้า, หรือค้นคว้าด้วยตนเองตามแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา








บทบาทและหน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา

   หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทาให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คาปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม


คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา


1. ด้านบุคลิกภาพ (คุณลักษณะส่วนตัว)

• มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
• มีความคิดสร้างสรรค์
• มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
• เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
• รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
• รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา


2. ด้านความรู้ (คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)

• มีความรู้สามารถให้คาแนะนา, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้
• มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
• สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
• สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
• รู้จักวางแผนและวางระบบการทางาน
• รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ












วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 10 พ.ค. 2555

 ความรู้ในคาบเรียน


ได้สอบระหว่างภาคและได้ส่งแบบฝึกหัดท้ายบทกับส่งแบบฝึกหัดเขียนอักษรหัวตัดด้วยปากกาเมจิ 5.0 





วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในคาบเรียนวันที่ 3 พฤษภาคม 2555




ความรู้ในคาบวันนี้



   ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อนำไปสอบระหว่างภาคในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดได้แก่


1. ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา 
2. ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา 
3.วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
4.ประเภทสื่อการเรียนรู้แบ่งตามประสบการณ์
5.หลักทฤษฎีทางศิลปะกับเทคโนโลยีการศึกษา 
6. การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร 
7. หลักทฤษฎีทางจิตวิทยากับเทคโนโลยีการศึกษา




      ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีการศึกษา


ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) คือ ข้อความรู้ ที่บรรยาย พรรณนา ทำนาย ปรากฏการต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก้ผู้เรียนได้


กลุ่มพฤติกรรมนิยาม(Behaviorism)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฏีของพาพลอฟ


 คือ “เมื่อนาสิ่งเร้าที่เป็นกลางหรือสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข(CS) เสนอควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ซ้า ๆ หลายครั้ง ในที่สุดสิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้น จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองได้ด้วยตัวมันเอง”
ทฤษฏีของพาพลอฟ


   ทฤษฎีของวัตสัน (Watson) คือ จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1878 –1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นาเอาทฤษฎีของ พาพลอฟมาเป็นหลักสาคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์


    BurrhusSkinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทา (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจากัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาพลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คาว่า พฤติกรรม ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent) พฤติกรรม (Behavior) ผลที่ได้รับ (Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C



ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

   กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt)เป็นภาษาเยอรมันซึ่งวงการจิตวิทยาได้แปลความหมายไว้เดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง(Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปล เกสตัลท์ว่า เป็นส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)



   หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ 1.การรับรู้(Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส
ทั้ง 5 ส่วนคือหู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) 1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) 1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Continuity) 1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)






     แรงจูงใจ (motive) เป็นคาที่ได้ความหมายมาจากคาภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คาว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
แรงจูงใจ หมายถึง"บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทาให้บุคคลต้องกระทา หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" (Walters.1978 :218) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทา นั่นเอง
แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทาให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป้าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม" (Loundon and Bitta.1988:368)



ลักษณะของแรงจูงใจ

*แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ
*แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คาชม การได้รับการยอมรับยกย่อง


ทฤษฎีแรงจูงใจ

     ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎี นี้ ให้ความสาคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสาคัญของสิ่งเร้าภายนอก (Extrinsic Motivation)



     ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สาคัญในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล



    ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation) ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทาพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสาคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทาได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สาคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation)




     ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลาดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน




      องค์ประกอบของแรงจูงใจ
  นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาและสรุปว่า องค์ประกอบของแรงจูงใจ มี 3 ด้านคือ
องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Biological Factor) ในองค์ประกอบด้านนี้จะพิจารณาถึงความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ เช่น ความต้องการปัจจัย 4 เพื่อจะดารงชีวิตอยู่ได้
องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ (Learned Factor) องค์ประกอบด้านนี้เป็นผลสืบเนื่องต่อจากองค์ประกอบข้อ 1 ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถได้รับการตอบสนองความต้องการในปริมาณ ชนิด และคุณภาพตามที่ตนเองต้องการ และในหลาย ๆ ครั้ง สิ่งแวดล้อมเป็นตัววางเงื่อนไขในการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์



    องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)

54ประเภทของแรงจูงใจ
กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด
กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น
กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิว, กระหาย แรงจูงใจทุติยภูมิ 



   การพัฒนาแรงจูงใจในการเรียน

1. ต้องรู้จักพึ่งตนเอง
2. เป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีเหตุผล
3. ใช้ความสามารถของตนเองในการทางานให้เต็มที่เสมอ
4. ต้องกล้าเผชิญกับปัญหา หรืออุปสรรคต่าง ๆ
5. พยายามแข่งขันกับตนเอง
6. ต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
7. จงพยายามและทุ่มเทพลังงานลงไป








วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้เรียนในคาบวันที่ 26 เมษายน 2555

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร

  ป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อ ช่องทาง ระบบเพื่อการติดต่อ รับส่งข้อมูล ซึ่งกันและกัน

ลักษณะของการสื่อสาร

1. วิธีการสื่อสาร

     1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)

     1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)

     1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)


2. รูปแบบของการสื่อสาร

     2.1 การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)

    2.2การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)


3. ประเภทของการสื่อสาร

     3.1 การสื่อสารในตนเอง (Self- Communication)

    3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal Communication)

    3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)

    3.4 การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)

    3.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)



ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล



ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร

   ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
    การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น


โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม

2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ 



3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด


4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม



ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ
2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ 
3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป


2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ



3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม





วิธีการออกแบบตัวอักษร
   การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ 


วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาาสตร์ทางทะเลและหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาวัยบูรพา จ.ชลบุรี


ให้นิสิตเขียนบันทึกเรื่องราวพร้อมลงรูปของตน สาระที่ได้เรียนรู้วันนี้ลงใน Weblog

สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



      สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ ได้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆได้เห็นวิธีการให้อาหารในตู้ปลาขนาดใหญ่และได้ความเพลิดเพลินมาก ที่สำคัญยังได้เรื่องรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่เป็น2มิติ 3มิติและวัสดุอิเล้กทรอนิกส์ว่าในสถาบันทางทะเลมีอยู่เช่น       ตู้ไฟเป็นวัสดุ2มิติ สื่อทัศนสัญลักษณ์ วจนสัญลักษณ์ ในการใช้ตัวหนังสือแทนคำพูดเพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านหรือคนที่อยากรู้ได้มาหาเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม  ;)

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก



   สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คือ ได้ทราบถึงสื่อต่างๆ จากการที่ได้เดินเยี่ยมชมหอศิลปะจะมีสือที่เป็น3มิติมีการใช้เสียงประกอบการเล่าเรื่องถึงชีวะประวัติต่างๆตามตู้อันตรทัศน์ เป็นต้น หอศิลปะถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบตัวหนังสืออย่างไรเพื่อให้คนอ่านมองเห็นตัวหนังสือได้ชัดเจนและภาพพื้นหลังว่าครวใช้ภาพหรือสีตัวอักษรอย่างไรให้ตัวหนังสือเด่นกล่าวภาพ เป็นสถานที่ได้ความรู้กับการเรียนเป้นอย่างมากจ้า :)


วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

       แนวคิดแรก เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ "Phvsical Science Concept" เป็นการนำผลิตผลทางวิทยาสาสตร์และวิศวกรรมมาใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในรูป"วัสดุและอุปกรณ์" เป็นแนวคิดที่พัฒนา มาจาก"โสตรทัศนศึกษา"หรือ"Audiovisual Education" โดยจะเน้นหนักไปที่"สื่อสิ่งของ"
       แนวคิดที่สอง เป็นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ หรือ "Behaviorial Science Concept" เป็นการประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผสมผสานกับแนวคิดแรก(วิทยาศาสตร์กายภาพ)เน้น"วิธีการจัดระบบ"หรือ"Systems  Approach" แนวคิดนี้จะเป็นลักษณะการรวม"วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ"Instructional Design"หรือ"Instructional System Development" โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาทำหน้าที่เป็น วิศวกรทางการศึกษา (Educational Engineer)
         แนวคิดที่สาม เริ่มพัฒนาและให้ความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นลักษณะบทเรียนต่างๆเช่น CAI ,WBI, E-learning ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้อวการเรียนรู้รายบุคคล เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกทีี ทุกเวลา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
  
        การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆที่เป็นระบบเข้ากับงานการศึกษา เพื่อประสิทธิภาพของงาน 
        Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลตามแผนการ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา


1. นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษา
          - ปัญหาด้านผู้สอน
          - ปัญหาด้านผู้เรียน
          - ปัญหาด้านเนื้อหา
          - ปัญหาด้านเวลา
          - ปัญหาเรื่องระยะทาง
2. เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษา

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เพื่อขยายแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา



ออกแบบ(Design)
-การออกแบบระบบการสอน(Instructional Systems Technology)
-การออกแบบสาร(Message Design)
-กลยุทธ์การสอน(Instructional Strategies)
-ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน(Learner Characteristics)

การพัฒนา(Development)
-เทคโนโลยีการพิมพ์(Print Technologies)
-เทคโนโลยีโสตทัศน์(Audiovisual Technologies)
-เทคโนโลยีแบบบูรณาการ(Computer Technologies)

การใช้(Utilization)
-การใช้สื่อ(Media Utilization)
-การแพร่กระจายนวัตกรรม(Diffusion of Innovation)
-การใช้งานและความเป็นองค์กร(Implemetation and Institutionalization)
-นโยบายและกฏระเบียบ(Policies and Regulation)

การจัดการ(Management)
-การจัดการโครงการ(Project  Management)
-การจัดการทรัพยากร(Resources  Management)
-การจัดการระบบส่งผ่าน(Delivery  System  Management)
-การจัดการสารสนเทศ(Information  Management)

การประเมิน(Evaluation)
-การวิเคราะห์ปัญหา(Problem  Analysis)
-การวัดผลอิงเกณฑ์(Criterion-Referenced  measurement)
-การประเมินความก้าวหน้า(Formative  Evaluation)
-การประเมินขั้นสรุป(Summative  Evaluation)


ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา






ภาระงานเทคโนโลยีการศึกษา

-เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฏิบัติ
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ(เช่น วิเคราะห์ระบบการสอน  สังเคราะห์ระบบการสอน สร้างแบบจำลองระบบการสอน ทดสอบระบบการสอนและผู้ควบคุมการผลิตและการใช้สื่อประเภทต่างๆ )
-เทคโนโลยีการศึกษษที่เป็นเครื่องมือบริหาร ได้แก่
  1.การเป็นเครื่องมือด้านการจัดระบบการบริหาร
  2.การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ
  3.ในด้านการบริหารบุคคลากร
  4.ในด้านการบริหารวิชาการ
  5.ในด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  6.ในด้านการพัฒนาบุคลากร
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางิชาการ มี 2 รูปแบบ
  1.การยึดสือคนเป็นหลัก
  2.การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก มีอยู่ 3 แนวคือ 
     2.1 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน เสริมด้วยสื่อโสตทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนเสิมและสือโทรคมนาคม เป็นต้น
     2.2 การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อแกนกลางแล้วเสริมด้วยสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศน์และการสอนเสริม เป็นต้น
     2.3 การใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อฝึกอบรม รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ วัสดุบันทึกในรูปแบบต่างๆ แหล่งวิทยาบริการระบบเครื่อข่ายดิจิตอล

สื่อการสอน Instructional  Media
     หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน

ประเภทของสื่อการสอน 

-แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
-แบ่งตามแนงคิดเทคโนโลยีการศึกษา
-แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม(Edgar  Dale)


สื่อการสอน

  แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอนมี 3 ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non  projected  material)
2. สื่อที่ต้องฉาย (projected  material)
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio  material)
   
   แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
        1.วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
        2.อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามรถใช้ได้ด้สยตนเอง เช่น หุ่นจำลองและสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์  สไลด์   
        3.วิธีการ - กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน


สื่อการสอน แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale

1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct  or  Purposeful  Experiences)
2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived  experience)
3. ประสบการณ์นาฎการ (Dramatized  Experience)
4. การสาธิต (Demonstration)
5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
6. นิทรรศการ (Exhibits)
7. โทรทัศน์ (Television)
8. ภาพยนต์ (Motion  Picture)
9. ภาพนิ่ง  วิทยุและแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture)
10. ทัศน์สัญญลักษณ์ (Visual  Symbols)
11. วัจนสัญญลักษณ์ (Verbal  Symbol)


วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบการสอนของ The Kemp Model,Dick and Carey



ระบบการสอนของดิคค์ แอนด์และคาเรย์(Dick and Carey Mode)

      คิด แอนด์ แคเรย์ (Dick and Carey) ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยวิธีการระบบเช่นเดียวกันกับรูปแบบ ADDIE ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่าย แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ดี  รูปแบบการสอนของคิดแอนด์ แคเรย์ เริ่มเผ่ยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี คศ.1990 หลังจากนั้น เมือ่ปี คศ.1996 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยรายละเอียดมากชึ้น

      รูปแบบการสอนของดิคค์ แอนด์ แคเรย์ (1990) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้


1.การประเมินและการวิเคราะห์ (Assesment&Analysis) ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

           1.1   การประเมินความต้องการ (Need Assessment)
           1.2   การวิเคราะห์ส่วนหน้า (Front-endAnalysis)
2.การออกแบบ (Design)
3.การพัฒนา (Dvelopment)
4.การทดลองใช้ (lmplementation)
5.การประมเินผล (Evaluation)
   รูปแบบการสอนของคิดค์ แอนด์ แคเรย์(1990) พัฒนามาจากวิธีการระบบ โดยมีส่วนคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE แตกต่างกันเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น ซึ่งก็คือ การประเมินและการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อยๆได้แก่ การประเมินความต้องการและการวิเคราะห์ส่วนหน้า สำหรับการประเมินความต้องการ จะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายของการเรียนรู้และข้อจำกัดต่างๆรวมทั้งส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนการวิเคราะห์ส่วนหน้า จะเป็นการพิจารณาสถานกราณ์ การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์การวิเคราะห์สื่อและส่วนอื่นๆ สำหรับขั้นตอนที่ 2 ถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีรายละเอียดคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว


       รูปแบบการสอนของดิค แอนด์ แคเรย์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในปี คศ. 1996 โดยมีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งพบว่ารูปแบบการสอนในปี คศ.1996 ได้รับความนิยมมากกว่า ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การแยกแยะเป้าหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดที่ขั้นตอนของการพัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียดดังนี้


1. แยกแยะเป้าหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals) ขั้นตอนแรกเป็นการแยกแยะเป้าหมายของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการ เป้าหมายของการเรียนในส่วนนี้จะเกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ก่อน แล้วจึงกำหนดเป้าหมายของการเรียน โดยพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1.1 รายละเอียดของเป้าหมายของการเรียนที่มีอยู่
    1.2
ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการ
    1.3
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียน
    1.4
ผลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนคนอื่นๆที่เรียนจบแล้ว

2.
วิเคราะห์การเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากได้เป้าหมายของการเรียนแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อตัดสินว่า ความรู้และทักษะใดที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    2.1
กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนหลังจากที่เรียนจบแล้ว
   2.2
กำหนดขั้นตอนการนำเสนอบทเรียน

3.
กำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่จะเข้าเรียน (Identify Entry Behaviors) เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าพฤติกรรมใดที่จำเป็นของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    3.1
การกำหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน
    3.2
คุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน ในการดำเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
4.
เขียนวัตถุประสงค์ของการกระทำ(Write Performance Objectives) ในที่นี้ก็คือการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือสังเกตได้ของบทเรียนแต่ละหน่วย ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแล้ว โดยนำ ผลลัพธ์ที่ได้จาก 3ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    4.1
งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผู้เรียนแสดงออกในรูปของการกระทำหลังจบบทเรียนแล้ว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้
    4.2
เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
    4.3
เกณฑ์ (Criterion) ของงานหรือภารกิจของผู้เรียนที่กระทำได้

5.
พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests) เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องทำได้หลังจากจบบทเรียนแล้ว ในที่นี้ก็คือเกณฑ์ที่ใช้วัดผลจากแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบต่างๆ ที่ใช้ในบทเรียน

6.
พัฒนากลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) เป็นการออกแบบและพัฒนารายละเอียดต่าง ๆ ของบทเรียน ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนำเสนอบทเรียนด้วย เช่น ระบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative System) ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered System) หรือ ระบบผู้สอนเป็นผู้นำ (Instructor-led System) เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยู่ในรูปของบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    6.1
การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
    6.2
กิจกรรมการเรียนการสอน
    6.3
แบบฝึกหัดและการตรวจปรับ
    6.4
การทดสอบ
   6.5
การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน

7.
พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)เป็นขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดำเนินเรื่องในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนทั้งสื่อที่มีอยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ มีดังนี้
    7.1
คู่มือการใช้บทเรียนของผู้เรียนและผู้สอน
    7.2
บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
       7.2.1
ระบบสนับสนุนการกระทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EPSS (Electronic Performance Support Systems)
       7.2.2
บทเรียนสำหรับผู้สอน ในกรณีที่เป็นระบบผู้สอนเป็นผู้นำ
       7.2.3
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานโดยลำพัง เช่น CAI, CBT
       7.2.4
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานบนเครือข่าย เช่น WBI, WBT
       7.2.5 e-Learning

8.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Develop & Conduct FormativeEvaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงบทเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
    8.1
การประเมินผลแบบตัวต่อตัว (One-to-One Evaluation)
    8.2
การประเมินผลแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Evaluation)
    8.3
การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)

9.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation)เป็นการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่ง จำแนกออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    9.1
การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
    9.1
การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation)

10.
ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เป็นการปรับปรุงและแก้ไขบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธ์ การทดสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่วนประกอบต่าง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้




ระบบการสอนของ เจอโรลด์เคมป์ (Jerrold Kemp Model) 


     เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp)  ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้
     1.
ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน
     2.
ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
     3.
ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน
     4.
ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

1.
ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรกของการเริ่มต้นในกระบวนการออกแบบระบบการสอนหรือบทเรียน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและเป็นพื้นฐานของขั้นตอนย่อย ๆ ทั้ง 9 ขั้นตอน 

2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้ระบบการสอนหรือบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติจำนวน 3 ด้าน ดังนี้
     2.1
คุณสมบัติทั่วๆ ไป (General Characteristics) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา
     2.2
ความสามารถเฉพาะทาง (Specify Entry Competencies)
     2.3
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) เช่น การใช้สื่อ และกิจกรรม เป็นต้น

3.
เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose) เป็นการพิจารณาเป้าหมายของงานที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจบบทเรียนแล้ว เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป

4.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานหรือ ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้ หรือ สังเกตได้ การวิเคราะห์งานในขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างๆ ดังนี้
     4.1
เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ
     4.2
ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
     4.3
แนวทางการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน

5.
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน โดยพิจารณาจากผลของการวิเคราะห์งานที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนและการประเมินผลบทเรียน วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย

6.
กิจกรรมการสอน (Teaching Activities) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนสอนในกระบวนการเรียนการสอน โดยพิจารณาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนและความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและสื่อการสอน ก็จะต้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนด้วยเช่นกัน

7.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ

8.
สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ เช่น สถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากและตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

9.
การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการสร้างเครื่องมือวัดผลและดำเนินการวัดผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนต่อไป

10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และพื้นฐานความรู้เพื่อแนะนำให้มีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ก่อนศึกษาบทเรียนหรืหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนต่อไป





         รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้
1.
ระดับในสุด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
2.
ระดับที่สอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) และขั้นตอนการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)
3.
ระดับนอกสุด ประกอบด้วย สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) การบริหารโครงการ (Project Management) และการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)




     สำหรับขั้นตอนย่อยๆ มีดังนี้

1. ปัญหาการเรียนการสอน (Instructional Problems) เป็นการกำหนดปัญหาการเรียนการสอน เพื่อนำไปพิจารณาออกแบบและพัฒนาบทเรียน
2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้บทเรียนหรือ ระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
3.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้หลังจบบทเรียน
4.
วัตถุประสงค์การเรียนการสอน (Instructional Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน
5.
การเรียงลำดับเนื้อหา (Content Sequencing) เป็นการกำหนดความสำคัญของเนื้อหาโดยเรียงลำดับตามหลักประสบการณ์การเรียนรู้
6.
กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategies) เป็นการกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน เพื่อนำเสนอบทเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.
การนำส่งการเรียนการสอน (Instructional Delivery) เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการนำส่งบทเรียนไปยังผู้เรียน ได้แก่นำเสนอเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มเล็ก และนำเสนอเป็นรายบุคคล
8.
เครื่องมือวัดผลการเรียนการสอน (Instructional Instruments) เป็นการออกแบบเครื่องมือวัดผล เพื่อใช้สำหรับประเมินผลผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้
9.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ