วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา และประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

       แนวคิดแรก เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ "Phvsical Science Concept" เป็นการนำผลิตผลทางวิทยาสาสตร์และวิศวกรรมมาใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในรูป"วัสดุและอุปกรณ์" เป็นแนวคิดที่พัฒนา มาจาก"โสตรทัศนศึกษา"หรือ"Audiovisual Education" โดยจะเน้นหนักไปที่"สื่อสิ่งของ"
       แนวคิดที่สอง เป็นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ หรือ "Behaviorial Science Concept" เป็นการประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผสมผสานกับแนวคิดแรก(วิทยาศาสตร์กายภาพ)เน้น"วิธีการจัดระบบ"หรือ"Systems  Approach" แนวคิดนี้จะเป็นลักษณะการรวม"วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ"Instructional Design"หรือ"Instructional System Development" โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาทำหน้าที่เป็น วิศวกรทางการศึกษา (Educational Engineer)
         แนวคิดที่สาม เริ่มพัฒนาและให้ความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นลักษณะบทเรียนต่างๆเช่น CAI ,WBI, E-learning ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้อวการเรียนรู้รายบุคคล เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกทีี ทุกเวลา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
  
        การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆที่เป็นระบบเข้ากับงานการศึกษา เพื่อประสิทธิภาพของงาน 
        Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลตามแผนการ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา


1. นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษา
          - ปัญหาด้านผู้สอน
          - ปัญหาด้านผู้เรียน
          - ปัญหาด้านเนื้อหา
          - ปัญหาด้านเวลา
          - ปัญหาเรื่องระยะทาง
2. เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษา

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เพื่อขยายแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา



ออกแบบ(Design)
-การออกแบบระบบการสอน(Instructional Systems Technology)
-การออกแบบสาร(Message Design)
-กลยุทธ์การสอน(Instructional Strategies)
-ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน(Learner Characteristics)

การพัฒนา(Development)
-เทคโนโลยีการพิมพ์(Print Technologies)
-เทคโนโลยีโสตทัศน์(Audiovisual Technologies)
-เทคโนโลยีแบบบูรณาการ(Computer Technologies)

การใช้(Utilization)
-การใช้สื่อ(Media Utilization)
-การแพร่กระจายนวัตกรรม(Diffusion of Innovation)
-การใช้งานและความเป็นองค์กร(Implemetation and Institutionalization)
-นโยบายและกฏระเบียบ(Policies and Regulation)

การจัดการ(Management)
-การจัดการโครงการ(Project  Management)
-การจัดการทรัพยากร(Resources  Management)
-การจัดการระบบส่งผ่าน(Delivery  System  Management)
-การจัดการสารสนเทศ(Information  Management)

การประเมิน(Evaluation)
-การวิเคราะห์ปัญหา(Problem  Analysis)
-การวัดผลอิงเกณฑ์(Criterion-Referenced  measurement)
-การประเมินความก้าวหน้า(Formative  Evaluation)
-การประเมินขั้นสรุป(Summative  Evaluation)


ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา






ภาระงานเทคโนโลยีการศึกษา

-เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฏิบัติ
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ(เช่น วิเคราะห์ระบบการสอน  สังเคราะห์ระบบการสอน สร้างแบบจำลองระบบการสอน ทดสอบระบบการสอนและผู้ควบคุมการผลิตและการใช้สื่อประเภทต่างๆ )
-เทคโนโลยีการศึกษษที่เป็นเครื่องมือบริหาร ได้แก่
  1.การเป็นเครื่องมือด้านการจัดระบบการบริหาร
  2.การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ
  3.ในด้านการบริหารบุคคลากร
  4.ในด้านการบริหารวิชาการ
  5.ในด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  6.ในด้านการพัฒนาบุคลากร
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางิชาการ มี 2 รูปแบบ
  1.การยึดสือคนเป็นหลัก
  2.การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก มีอยู่ 3 แนวคือ 
     2.1 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน เสริมด้วยสื่อโสตทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนเสิมและสือโทรคมนาคม เป็นต้น
     2.2 การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อแกนกลางแล้วเสริมด้วยสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศน์และการสอนเสริม เป็นต้น
     2.3 การใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อฝึกอบรม รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ วัสดุบันทึกในรูปแบบต่างๆ แหล่งวิทยาบริการระบบเครื่อข่ายดิจิตอล

สื่อการสอน Instructional  Media
     หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน

ประเภทของสื่อการสอน 

-แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
-แบ่งตามแนงคิดเทคโนโลยีการศึกษา
-แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม(Edgar  Dale)


สื่อการสอน

  แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอนมี 3 ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non  projected  material)
2. สื่อที่ต้องฉาย (projected  material)
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio  material)
   
   แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
        1.วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
        2.อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามรถใช้ได้ด้สยตนเอง เช่น หุ่นจำลองและสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์  สไลด์   
        3.วิธีการ - กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน


สื่อการสอน แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale

1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct  or  Purposeful  Experiences)
2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived  experience)
3. ประสบการณ์นาฎการ (Dramatized  Experience)
4. การสาธิต (Demonstration)
5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
6. นิทรรศการ (Exhibits)
7. โทรทัศน์ (Television)
8. ภาพยนต์ (Motion  Picture)
9. ภาพนิ่ง  วิทยุและแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture)
10. ทัศน์สัญญลักษณ์ (Visual  Symbols)
11. วัจนสัญญลักษณ์ (Verbal  Symbol)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น