วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบการสอนของ The Kemp Model,Dick and Carey



ระบบการสอนของดิคค์ แอนด์และคาเรย์(Dick and Carey Mode)

      คิด แอนด์ แคเรย์ (Dick and Carey) ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยวิธีการระบบเช่นเดียวกันกับรูปแบบ ADDIE ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่าย แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ดี  รูปแบบการสอนของคิดแอนด์ แคเรย์ เริ่มเผ่ยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี คศ.1990 หลังจากนั้น เมือ่ปี คศ.1996 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยรายละเอียดมากชึ้น

      รูปแบบการสอนของดิคค์ แอนด์ แคเรย์ (1990) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้


1.การประเมินและการวิเคราะห์ (Assesment&Analysis) ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

           1.1   การประเมินความต้องการ (Need Assessment)
           1.2   การวิเคราะห์ส่วนหน้า (Front-endAnalysis)
2.การออกแบบ (Design)
3.การพัฒนา (Dvelopment)
4.การทดลองใช้ (lmplementation)
5.การประมเินผล (Evaluation)
   รูปแบบการสอนของคิดค์ แอนด์ แคเรย์(1990) พัฒนามาจากวิธีการระบบ โดยมีส่วนคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE แตกต่างกันเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น ซึ่งก็คือ การประเมินและการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อยๆได้แก่ การประเมินความต้องการและการวิเคราะห์ส่วนหน้า สำหรับการประเมินความต้องการ จะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายของการเรียนรู้และข้อจำกัดต่างๆรวมทั้งส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนการวิเคราะห์ส่วนหน้า จะเป็นการพิจารณาสถานกราณ์ การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์การวิเคราะห์สื่อและส่วนอื่นๆ สำหรับขั้นตอนที่ 2 ถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีรายละเอียดคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว


       รูปแบบการสอนของดิค แอนด์ แคเรย์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในปี คศ. 1996 โดยมีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งพบว่ารูปแบบการสอนในปี คศ.1996 ได้รับความนิยมมากกว่า ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การแยกแยะเป้าหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดที่ขั้นตอนของการพัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียดดังนี้


1. แยกแยะเป้าหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals) ขั้นตอนแรกเป็นการแยกแยะเป้าหมายของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการ เป้าหมายของการเรียนในส่วนนี้จะเกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ก่อน แล้วจึงกำหนดเป้าหมายของการเรียน โดยพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1.1 รายละเอียดของเป้าหมายของการเรียนที่มีอยู่
    1.2
ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการ
    1.3
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียน
    1.4
ผลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนคนอื่นๆที่เรียนจบแล้ว

2.
วิเคราะห์การเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากได้เป้าหมายของการเรียนแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อตัดสินว่า ความรู้และทักษะใดที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    2.1
กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนหลังจากที่เรียนจบแล้ว
   2.2
กำหนดขั้นตอนการนำเสนอบทเรียน

3.
กำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่จะเข้าเรียน (Identify Entry Behaviors) เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าพฤติกรรมใดที่จำเป็นของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    3.1
การกำหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน
    3.2
คุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน ในการดำเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
4.
เขียนวัตถุประสงค์ของการกระทำ(Write Performance Objectives) ในที่นี้ก็คือการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือสังเกตได้ของบทเรียนแต่ละหน่วย ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแล้ว โดยนำ ผลลัพธ์ที่ได้จาก 3ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    4.1
งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผู้เรียนแสดงออกในรูปของการกระทำหลังจบบทเรียนแล้ว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้
    4.2
เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
    4.3
เกณฑ์ (Criterion) ของงานหรือภารกิจของผู้เรียนที่กระทำได้

5.
พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests) เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องทำได้หลังจากจบบทเรียนแล้ว ในที่นี้ก็คือเกณฑ์ที่ใช้วัดผลจากแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบต่างๆ ที่ใช้ในบทเรียน

6.
พัฒนากลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) เป็นการออกแบบและพัฒนารายละเอียดต่าง ๆ ของบทเรียน ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนำเสนอบทเรียนด้วย เช่น ระบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative System) ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered System) หรือ ระบบผู้สอนเป็นผู้นำ (Instructor-led System) เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยู่ในรูปของบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    6.1
การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
    6.2
กิจกรรมการเรียนการสอน
    6.3
แบบฝึกหัดและการตรวจปรับ
    6.4
การทดสอบ
   6.5
การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน

7.
พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)เป็นขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดำเนินเรื่องในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนทั้งสื่อที่มีอยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ มีดังนี้
    7.1
คู่มือการใช้บทเรียนของผู้เรียนและผู้สอน
    7.2
บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
       7.2.1
ระบบสนับสนุนการกระทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EPSS (Electronic Performance Support Systems)
       7.2.2
บทเรียนสำหรับผู้สอน ในกรณีที่เป็นระบบผู้สอนเป็นผู้นำ
       7.2.3
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานโดยลำพัง เช่น CAI, CBT
       7.2.4
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานบนเครือข่าย เช่น WBI, WBT
       7.2.5 e-Learning

8.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Develop & Conduct FormativeEvaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงบทเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
    8.1
การประเมินผลแบบตัวต่อตัว (One-to-One Evaluation)
    8.2
การประเมินผลแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Evaluation)
    8.3
การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)

9.
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation)เป็นการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่ง จำแนกออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    9.1
การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
    9.1
การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation)

10.
ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เป็นการปรับปรุงและแก้ไขบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธ์ การทดสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่วนประกอบต่าง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้




ระบบการสอนของ เจอโรลด์เคมป์ (Jerrold Kemp Model) 


     เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp)  ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้
     1.
ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน
     2.
ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
     3.
ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน
     4.
ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

1.
ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรกของการเริ่มต้นในกระบวนการออกแบบระบบการสอนหรือบทเรียน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและเป็นพื้นฐานของขั้นตอนย่อย ๆ ทั้ง 9 ขั้นตอน 

2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้ระบบการสอนหรือบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติจำนวน 3 ด้าน ดังนี้
     2.1
คุณสมบัติทั่วๆ ไป (General Characteristics) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา
     2.2
ความสามารถเฉพาะทาง (Specify Entry Competencies)
     2.3
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) เช่น การใช้สื่อ และกิจกรรม เป็นต้น

3.
เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose) เป็นการพิจารณาเป้าหมายของงานที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจบบทเรียนแล้ว เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป

4.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานหรือ ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้ หรือ สังเกตได้ การวิเคราะห์งานในขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างๆ ดังนี้
     4.1
เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ
     4.2
ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
     4.3
แนวทางการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน

5.
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน โดยพิจารณาจากผลของการวิเคราะห์งานที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนและการประเมินผลบทเรียน วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย

6.
กิจกรรมการสอน (Teaching Activities) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนสอนในกระบวนการเรียนการสอน โดยพิจารณาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนและความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและสื่อการสอน ก็จะต้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนด้วยเช่นกัน

7.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ

8.
สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ เช่น สถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากและตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

9.
การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการสร้างเครื่องมือวัดผลและดำเนินการวัดผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนต่อไป

10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และพื้นฐานความรู้เพื่อแนะนำให้มีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ก่อนศึกษาบทเรียนหรืหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนต่อไป





         รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้
1.
ระดับในสุด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
2.
ระดับที่สอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) และขั้นตอนการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)
3.
ระดับนอกสุด ประกอบด้วย สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) การบริหารโครงการ (Project Management) และการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)




     สำหรับขั้นตอนย่อยๆ มีดังนี้

1. ปัญหาการเรียนการสอน (Instructional Problems) เป็นการกำหนดปัญหาการเรียนการสอน เพื่อนำไปพิจารณาออกแบบและพัฒนาบทเรียน
2.
คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้บทเรียนหรือ ระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
3.
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้หลังจบบทเรียน
4.
วัตถุประสงค์การเรียนการสอน (Instructional Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน
5.
การเรียงลำดับเนื้อหา (Content Sequencing) เป็นการกำหนดความสำคัญของเนื้อหาโดยเรียงลำดับตามหลักประสบการณ์การเรียนรู้
6.
กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategies) เป็นการกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน เพื่อนำเสนอบทเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.
การนำส่งการเรียนการสอน (Instructional Delivery) เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการนำส่งบทเรียนไปยังผู้เรียน ได้แก่นำเสนอเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มเล็ก และนำเสนอเป็นรายบุคคล
8.
เครื่องมือวัดผลการเรียนการสอน (Instructional Instruments) เป็นการออกแบบเครื่องมือวัดผล เพื่อใช้สำหรับประเมินผลผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้
9.
แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น